วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเทศพม่า




ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง : ประเทศพม่าตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง 10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทำให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ และมีหาดที่สวยงามเก่าแก่บริสุทธิ์อยู่หลายแห่ง พม่ามีชายแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศและอินเดีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับธิเบตและจีน ส่วนทางตะวันออกติดกับลาว และทางตอนใต้ติดกับไทย รูปพรรณสัณฐานเหมือนกับว่าวที่มีหางยาวล้อมรอบเกือกม้าขนาดใหญ่คือแนวเทือกเขามหึมา และภูเขาที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ มียอดเขาสูงอยู่มากมายตามแนวเทือกเขาของพม่า และมีหลายยอดที่สูงเกินกว่า 10,000 ฟุต ตามแนวชายแดนหิมาลัยทางเหนือของพม่าที่ติดกับธิเบตเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฮากากาโบ ราซี19,314 ฟุต ต่ำลงมาจากแนวเขาเหล่านี้เป็นที่ราบกว้างใหญ่ภายในประเทศพม่า รวมทั้งเขตแห้งแล้งกินอาณาเขตกว้างตอนกลางของพม่า และยังมีที่ราบลุ่มบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวลงไปทางตอนใต้ เป็นนาข้าวกว้างใหญ่ราวกับไม่มีที่สิ้นสุด
ลักษณะภูมิประเทศ
  • ภาคเหนือ เทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย
  • ภาคตะวันตก เทือกเขาอาระกันโยมากั้นเป็นแนวยาว
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นที่ราบสูงชัน
  • ภาคใต้ มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า
  • ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี
 ลักษณะภูมิอากาศ
  • มรสุมเมืองร้อน
  • ด้านหน้าภูเขาอาระกันโยมา ฝนตกชุกมาก
  • ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลม
  • ภาคกลางตอนล่าง เป็นดินดอนสามเหลี่ยวปากแม่น้ำขนาดใหญ่ ปลูกข้าวเจ้า ปอ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง
  • ร้อนชื้น

การคมนาคมขนส่ง 


            การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ
                - ทางถนน  ถนนในพม่าส่วนใหญ่ ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้
                ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองมูเซ ประมาณ ๑,๑๖๐ กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากมูเซถึงคุนหมิง ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ พะโค - ตองอู - ปยิมมะนา - เมตติลา - มัณฑะเลย์ - เมเบียงกอดเต็ก - สีป๊อ - ลาเฉียว - แสนหวี - มูเซ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ ๒,๑๔๐ กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล
                    ถนนสาย ย่างกุ้ง - มัณฑะเลย์  ยาวประมาณ ๗๓๐ กิโลเมตร ขนานไปตามแม่น้ำอิระวดี ผ่านเมืองสำคัญคือ เมืองแปร แมดเว ปาเดาว์ ตัดขนานกับทางรถไฟ
                    ถนนสาย เมตติลา - ท่าขี้เหล็ก  ยาวประมาณ ๙๐๐ กิโลเมตร เชื่อมต่อกับถนนพหลโยธินของไทย ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นถนนสายสำคัญที่ผ่านเมืองเชียงตุง ในรัฐฉาน ไปเชื่อมต่อกับถนนเข้าสู่ประเทศจีนที่เมืองลา
                    ถนนสาย พะโค - มะริด  ยาวประมาณ ๖๘๐ กิโลเมตร เชื่อมต่อภาคกลางตอนใต้ ไปยังภาคใต้สุดของพม่า ผ่านเมืองท่าตอน - มะละแหม่ง - เย - ทะวาย - มะริด
                    ถนนสาย ตองอู - สีป๊อ  ยาวประมาณ ๕๖๐ กิโลเมตร เริ่มจากเมืองตองอู ผ่านเมืองดอยก่อ - ดอยแหลม - ตองยี - จ๊อกแบ - สีป๊อ
                    ถนนสาย สะโกร์ - อิมพัล  ยาวประมาณ ๔๖๐ กิโลเมตร ผ่านเมืองฉ่อยโบ - กาเลวา ถึงเมืองอิมพัลในอินเดีย
                    ถนนสาย ลิโด หรือสติลเวลล์  ยาวประมาณ ๓๗๐ กิโลเมตร เป็นถนนเชื่อมต่อพม่ากับอินเดีย เริ่มจากเมืองลิโดแคว้นอัสสัม ของอินเดีย ผ่านลงไปทางใต้ ด้านหุบเขาฮูกวง ข้างแม่น้ำอิระวดี ที่มิตจินา ผ่านมาโมมิจินา ไปบรรจบกับถนนสายพม่าที่มูเซ
                    ถนนสาย ฮากา - อ.มาตูยุ  ยาวประมาณ ๑๗๐ กิโลเมตร เชื่อมต่อระหว่างรัฐชินกับภาคใต้
                    ถนนสาย จองโต - เมเนียว  ยาวประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร เชื่อมต่อกับถนนสายตาก - แม่สอด ของไทย ในเขตอำเภอแม่สอด ถนนสายนี้แยกจากถนนสายพะโค - มะริด ที่จองโต ผ่านเมืองผาอัน - ท่าตอน - เหล่งบ่วย - กอการิต - เมียวดี
                    ถนนสาย เมืองลา - บ้านท่าเดื่อ  ยาวประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร เป็นถนนเลียบพรมแดนพม่ากับจีน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเชียงตุง ในรัฐฉาน 

 

                - ทางรถไฟ ทางรถไฟของพม่าได้เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๑ ที่สำคัญได้แก่
                    สายย่างกุ้ง - มัณฑะเลย์  มีความยาวประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร สร้างขนานกับแม่น้ำสะโตงที่มัณฑะเลย์ เป็นชุมทางแยกไปยังมิตจินาและลาเฉียว
                    สายย่างกุ้ง - แปร  มีความยาวประมาณ ๒๕๐ กิโลเมตร สร้างขนานกับแม่น้ำอิระวดี ท่าข้ามที่เฮนซาด่ำ มีทางแยกไปยังพื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี
                    สายย่างกุ้ง - เมาะตะมะ  มีความยาวประมาณ ๒๗๐ กิโลเมต แยกจากสายย่างกุ้ง - มัณฑะเลย์ ที่เมืองพะโค แล้วข้ามแม่น้ำสะโตง ไปสู่เมืองเมาะตะมะ
                    สายมะละแหม่ง - เมืองงาย  มีความยาวประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร ทางสายนี้มีทางแยกที่บ้านตันบ่วยซายัด ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้าสู่ประเทศไทย
                    สายมัณฑะเลย์ - มิตจินา  มีความยาวประมาณ ๖๔๐ กิโลเมตร

 

            การขนส่งทางน้ำ  การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิรวะดี มีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด
                - แม่น้ำที่สำคัญ ที่ใช้ในการคมนาคมมีอยู่สี่สายด้วยกันคือ
                    แม่น้ำอิรวะดี  ใช้ในการเดินทางทุกฤดูกาล ตั้งแต่ปากแม่น้ำอิรวะดี ถึงเมืองบาโม เป็นระยะทางประมาณ ๑,๔๕๐ กิโลเมตร ถ้าเรือกินน้ำลึกเพียง ๑ เมตร จะเดินได้ถึงเมืองมิตจินา ซึ่งจะเป็นระยะทางประมาณ ๑,๕๐๐ กิโลเมตร
                    แม่น้ำซินด์วิน  ใช้ในการเดินเรือได้ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร ตั้งแต่ปากน้ำถึงเมืองแกนดี
                    แม่น้ำสาละวิน  แม้ว่าแม่น้ำสายนี้จะยาวถึงประมาณ ๑,๑๐๐ กิโลเมตร แต่ก็ไม่เป็นประโยชน์ในการเดินเรือมากนัก เนื่องจากกระแสน้ำไหลเชี่ยวมีโขดหิน เกาะแก่งจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะใชัในการล่องซุงลงมาจากรัฐฉาน มีระยะทางที่ใช้ในการเดินเรือได้ทุกฤดูกาล ยาวประมาณ ๑๖๐ กิโลเมตร
                    แม่น้ำสะโตง  มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ระยะทางที่ใช้ในการเดินเรือได้ทุกฤดูกาล ประมาณ ๙๐ กิโลเมตร ต่อมาได้มีการพัฒนาแม่น้ำสายนี้ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร พลังงานน้ำผลิตไฟฟ้า และการเดินเรือ
                    ทางน้ำบริเวณปากแม่น้ำอิรวะดี มีทางน้ำที่ใช้ในการเดินเรือได้ยาวประมาณ ๓,๒๐๐ กิโลเมตร
                - การคมนาคมขนส่งทางทะเล  ได้แก่ การเดินเรือเลียบชายฝั่ง เพื่อรับส่งสินค้า และผู้โดยสารตามเมืองชายฝั่งทะเล และการเดินเรือระหว่างประเทศ มีเส้นทางเดินเรือไปยังยุโรป ที่ประเทศอังกฤษ สำหรับในเอเชีย มีเส้นทางเดินเรือไปยังประเทศฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ศรีลังกา และอินเดีย เป็นต้น
                ท่าเรือที่สำคัญ มีกระจายอยู่ตามเมืองที่อยู่ชายทะเล และอยู่บนลำน้ำที่เรือเดินทะเลเข้าถึง
                    ท่าเรือย่างกุ้ง  ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำย่างกุ้ง อยู่ห่างจากปากแม่น้ำย่างกุ้งประมาณ ๓๕ กิโลเมตร เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด เรือเดินทะเลมีระวางขับน้ำ ๑,๕๐๐ ตัน สามารถใช้ท่าเรือนี้ได้
                    ท่าเรืออัคยับ  เป็นท่าเรือเก่าแก่ มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจทางด้านตะวันตก เรือเดินทะเลขนาดใหญ่เข้าจอดเทียบท่าได้สะดวก
                    ท่าเรือมะละแหม่ง  ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำมะละแหม่ง อยู่ห่างจากปากแม่น้ำประมาณ ๔๕ กิโลเมตร เป็นท่าเรือสำคัญทางด้านตะวันออกของประเทศ
                    ท่าเรือพะสิม  อยู่บนฝั่งแม่น้ำพะสิม ห่างจากปากแม่น้ำประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ใช้สำหรับเรือขนาดเล็กเท่านั้น เพราะร่องน้ำบางตอนคดเคี้ยว เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือขนาดใหญ่
                    ท่าเรือทะวาย  เป็นท่าเรือขนาดเล็ก ต้องใช้เรือเล็กขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ที่จอดอยู่ที่ปากอ่าวทะวาย
                    ท่าเรือมะริด  ตั้งอยู่ที่ปากน้ำตะนาวศรี เป็นท่าเรือชายฝั่งที่สำคัญ ใช้ประโยชน์ในกาประมง และการค้าขายกับประเทศไทย และหมู่เกาะอันดามันของอินเดีย

สถานที่ท่องเที่ยว
5 มหาบูชาสถาน : สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของประเทศพม่า               ชาวพม่าได้ชื่อว่า เป็นชนชาติที่ยังยึดมั่นคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่ที่สุดชาติหนึ่งในโลก มีการสร้างเจดีย์ พระธาตุ ศาสนสถาน ทั่วทั้งประเทศ ดังนั้นจึงมีปูชนียสถานอันเป็นที่สักการบูชาของชาวพม่า และชาวมอญอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ที่นับถือเป็นมหาบูชาสถานสำคัญสูงสุดมีเพียง 5 แห่ง ที่เป็นความใฝ่ฝันของชาวพุทธพม่าว่าครั้งหนึ่งในชีวิตควรได้เดินทางไป สักการบูชาให้ครบทั้ง 5 แห่ง จึงจะนอนตายตาหลับหรือได้ขึ้นสวรรค์ มหาบูชาสถานทั้ง 5 แห่งนี้ได้แก่
1.มหาเจดีย์ชเวดากอง กรุงย่างกุ้ง


                  เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ รวม 8 เส้น ของพระพุทธเจ้า มีประวัติตำนานเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ตั้งแต่ครั้งที่ย่างกุ้งยังเป็นดินแดนของมอญมีชื่อเดิมว่า ดากองหรือ ตะเกิง ก่อนจะถูกพม่ายึดครองไป แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ย่างกุ้ง” “ชเวดากองแปลว่า เจดีย์ทองแห่งเมืองดากองมหาเจดีย์แห่งนี้มีการบูรณปฏิสังขรณ์มาด้วยกันหลายครั้ง โดยเฉพาะมีโบราณราชประเพณีที่กษัตริย์ของมอญและพม่าที่จะขึ้นครองราชย์บัลลังก์ จะต้องถวายทองคำหนักเท่ากับน้ำหนักของพระองค์เอง เพื่อนำมาห้อหุ้มองค์พระเจดีย์ ซึ่งถือกันว่าเป็นศูนย์กลางแห่งจิตวิญญาณของชาวพุทธ แห่งลุ่มน้ำอิระวดีที่สำคัญที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน

2.เจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม

 

                   เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างโดยพระเจ้าอโนรธามหาราช พระองค์แรก ผู้รวบรวมชนชาติพม่าเป็นปึกแผ่นได้เป็นครั้งแรกในอาณาจักรพุกามเมื่อ 900 ปีเศษมาแล้ว ภายหลังทรงยกทัพไปตีมอญที่อาณาจักรสุธรรมวดี ได้แล้วทรงกวาดต้อนชาวมอญ ตลอดจนช่างฝีมือ นักปราชญ์ และ ราชบัณฑิตมาที่เมืองพุกาม ทำให้พม่าได้รับอิทธิพงศิลปวัฒนธรรมจากมอญมาโดยไม่รู้ตัว ดังเช่น รูปร่างของเจดีย์ ชเวซิกอง ก็มีรูปทรงระฆังคว่ำแบบมอญ ก่อนที่จะมีพุทธศิลป์ สกุลช่างพุกามเกิดขึ้น ชเวซิกองแปลว่า เจดีย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นทราย

3.เจดีย์ชเวมอดอร์ แห่งเมืองหงสาวดีหรือบาโก


                 ชาวพม่าเรียกว่า ไจก์มุเตาแห่งบาโกคนไทยเรียกว่า เจดีย์มุเตา เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ 2 เส้นของพระพุทธเจ้ามีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปีเป็นที่เคารพสักการะของกษัตริย์มอญ, พม่า, รวมทั้งไทย เช่น พระเจ้าราชาธิราชของมอญ พระเจ้าบุเรงนองของพม่า ตลอดจนสมเด็จพระนเรศวรมหาราชของไทย ไจก์มุเตาแปลว่า เจดีย์จมูกร้อน เพราะเจดีย์มีความสูงมากจนต้องแหงนหน้าขึ้นคอตั้งบ่าเพื่อมองไปที่ยอดของเจดีย์ทำให้จมูกร้อนเพราะแสงแดดเผามีตำนานสร้างคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองในย่างกุ้ง ตามตำนานการสร้างเจดีย์ชเวมอเดอร์มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่ามีพ่อค้าวาณิชชาวมอญสองคนได้อัญเชิญพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้ามาจากประเทศอินเดีย และได้สร้างเจดีย์นี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าเป็นที่เคารพสักการบูชาของพระมหากษัตริย์พม่า และมอญตลอดจนพระมหากษัตริย์ไทยคือ พระนเรศวรมหาราชและได้มีการบูรณะซ่อมแซมมาด้วยกันหลายรัชกาล องค์พระเจดีย์เป็นศิลปะพม่าผสมผสานกับศิลปะมอญได้อย่างกลมกลืน พระเจดีย์ชเวมอดอร์มีความสูงถึง 377 ฟุตทั้งๆที่มีจารึกระบุความสูงเมื่อแรกสร้างเพียง 75 ฟุตเท่านั้น ซึ่งมีความสูงกว่าพระมหาเจดีย์ชเวดากองถึง 51 ฟุต ต่อมาภายในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 ได้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นครั้งใหญ่ในประเทศพม่ายอดฉัตรบนสุดของพระเจดีย์ชเวมอดอร์ ได้หักพังทลายลงมายังความโศกเศร้าร้าวรานในให้แก่ชาวพม่าและตลอดจนพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมในศรัทธากันถ้วนหน้าจึงได้ทำการเรี่ยไรเงินมาบูรณะซ่อมแซมองค์พระเจดีย์ชเวมอดอร์ขึ้นมาใหม่ และสร้างให้สูงกว่าเดิมแต่ทางรัฐบาลพม่าก็ยังคงเก็บรักษาซากเจดีย์องค์เดิมไว้ให้ชาวพม่า และชาวมอญกราบไหว้สักการะบูชา ณบริเววณลานกว้างใหม่ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็น จุดอธิฐานศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระเจดีย์โดยมีความเชื่อถือกันว่าตรงบริเวณจุดนี้คือพระธาตุองค์จริง

4.พระมหามัยมุนี แห่งมัณฑะเลย์


 

                   เป็นพระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร เป็นที่ยอมรับกันว่า มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่ง มหามุนีแปลว่า มหาปราชญ์หล่อขึ้นในราว พ.ศ. 688 โดยชาวยะไข่ ชนกลุ่มน้อยในรัฐอาระกัน ทางทิศตะวันตกสุดของพม่าติดกับประเทศอินเดีย ต่อมาเมื่อพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ายกทัพไปตีเมืองยะไข่ได้ จึงโปรดให้ชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานที่เมืองมัณฑะเลย์ เมื่อ 200 ปีมาแล้ว มีตำนานเล่ากันว่า พระพุทธเจ้าทรงประทานลมหายใจให้พระมหามุนี เป็นตัวแทนสืบทอดพระศาสนา จึงเชื่อกันว่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้มีลมหายใจจริง จึงต้องมีพิธีล้างพระพักตร์ให้ทุกเช้า ซึ่งพิธีนึ้ก็ยังคงดำรงอยู่มาตราบจนถึงปัจจุบัน

5.พระธาตุอินทร์แขวน ไจก์ทิโยเมืองไจก์โถ่ รัฐมอญ

 

                เชื่อกันว่าพระอินทร์เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ เพื่อนำเอาพระธาตุมาแขวนไว้ให้ผู้มีบุญมากราบไหว้ ใครได้มาสักการะก็เท่ากับได้ไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ และจะได้สั่งสมอานิสงส์ให้ไปเกิดร่วมยุคกับพระศรีอาริยเมตตรัย และผู้ที่มีบุญก็จะสามารถมองเป็นองค์พระธาตุลอยอยู่อย่างชัดเจน พระธาตุอินทร์แขวนตั้งอยู่บนหน้าผาสูงกว่า 1,200 เมตร สร้างตั้งไว้บนก้อนหิน สูงถึง 5.5 เมตร เส้นรอบวงของก้อนหินราว 17 เมตร มองดูคล้ายก้อนหินตั้งอยู่หมิ่นเหม่ใกล้จะตกลงมาเต็มที ด้วยศรัทธาอันมีพุทธธรรมน้อมนำใจ ในกระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าสตางค์ของชาวมอญ และพม่าแทบทุกคน จะต้องมีรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างน้อย 3 สิ่ง เคลือบพลาสติกไว้สำหรับ พกพาเป็นสิริมงคลอยู่เสมอ สิ่งแรกคือ พระมหาเจดีย์ชเวกาดองย่างกุ้ง พระมหามัยมุนี มัณฑะเลย์ และสามคือ พระธาติอินทร์แขวน ไจก์ทิโย